Menu:

รับสมัครเจ้าของห้างสรรพสินค้าออนไลน์

รับแค่ 100 ท่านเท่านั้น
โอกาสเดียวเท่านั้น! ที่ท่านจะได้เป็นเจ้าของห้างสรรพสินค้าออนไลน์ มีสินค้ากว่า 10,000 รายการ

รายละเอียดเพิ่มเติม คลิกที่นี่

 
สมัครเป็นเจ้าของธุรกิจออนไลน์ง่ายๆ ดังนี้

ธุรกิจแฟรนไชส์คืออะไร

 เริ่มกันที่ “ความหมายของแฟรนไชส์”

           ธุรกิจแฟรนไชส์ คือ วิธีการหนึ่งในการขยายตลาดและช่องทางการจัดจำหน่ายของธุรกิจ โดยผ่านผู้ประกอบการอิสระที่เรียกว่า แฟรนไชส์ซี ส่วนทางบริษัทให้สิทธิเครื่องหมายการค้า ซึ่งถ้ายังไม่ได้เป็นเจ้าของสิทธิถือว่าไม่ถูกต้อง ต้องไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า เพราะถ้าไม่มีเครื่องหมายการค้าจะไม่สามารถขายแฟรนไชส์ได้ รวมทั้งมีความเชี่ยวชาญหรือ Know How อาจจะเป็นวิธีการในการทำธุรกิจที่จะถ่ายทอดให้แฟรนไชส์ซีในรูปแบบของการทำ งานทั้งหมด เช่น ระบบการผลิต ระบบการขาย ระบบการบริหารการตลาด เพื่อที่จะให้รูปแบบวิธีดำเนินธุรกิจในทุกๆสาขาให้อยู่ในมาตรฐานเดียวกัน

           การจัดธุรกิจในรูปแบบแฟรนไชส์จะต้องมีการเก็บค่าธรรมเนียมต่างๆกับผู้ที่ ต้องการมาลงทุน ซึ่งเป็นธรรมดาเมื่อเป็นธุรกิจก็ต้องมีกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเงินๆ ทองๆ มาเกี่ยวข้อง ในระบบแฟรนไชส์ก็จะมีชื่อเรียกเฉพาะเช่นคำว่า ค่าธรรมเนียมเริ่มต้น Initial Franchise Fee บางที่เรียกว่า ค่าสิทธิ์แรกเข้า หรือ Entrance Fee เป็นค่าใช้จ่ายเริ่มต้นของระบบแฟรนไชส์ที่แฟรนไชส์ซี จะต้องจ่ายให้แก่ แฟรนไชส์ซอร์ เป็นค่าสิทธิในการประกอบธุรกิจหรือใช้ตราสินค้าหรือบริการ หรือเครื่องหมายการค้าหนึ่ง ภายใต้ระยะเวลาที่กำหนด โดยแฟรนไชส์ซอร์ ส่วนใหญ่จะเสนอบริการต่างๆ เพื่อเป็นการตอบแทนกับรายจ่ายนี้เป็นการอำนวยความสะดวกต่อการทำธุรกิจรวมถึง การอบรมบริการต่างๆ ที่ทางแฟรนไชส์ซอร์จัดให้แก่แฟรนไชส์ซี

           สิ่งที่เป็นค่าใช้จ่ายระบบแฟรนไชส์อีกอย่างก็คือ เงินรายงวด/ค่าธรรมเนียมการจัดการ หรือเรียกว่า ค่ารอยัลตี้(Royalty Fee) ซึ่งเป็นค่าสิทธิต่อเนื่องบนรายได้ที่แฟรนไชส์ซีได้ จากการดำเนินธุรกิจที่ได้รับสิทธิ เสมือนหนึ่งเป็นภาษีทางธุรกิจ หรือค่าสมาชิกสโมสรที่ทุกคนที่เป็นสมาชิกต้องช่วยเหลือสนับสนุนเพื่อนำไป พัฒนานั่นเอง เงินรายงวดหรือค่าธรรมเนียมการจัดการเป็นค่าใช้จ่ายระหว่างดำเนินกิจการนี้ โดยปกติแฟรนไชส์ซี จะจ่ายให้แก่ แฟรนไชส์ซอร์ เป็นรายเดือน โดยคิดคำนวณจากสัดส่วนของยอดขายสุทธิในแต่ละเดือน ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายส่วนนี้อาจจะถูกกำหนดให้คงที่หรือผันแปรก็ได้หรืออาจจะเป็นทั้ง 2 แบบรวมกัน แฟรนไชส์ซอร์ อาจแลกเปลี่ยนด้วนการให้บริการต่างๆ เช่น จัดรายการโฆษณาและสนับสนุนการขาย ให้ข้อมูลใหม่เกี่ยวกับขั้นตอนต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ และการพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง

           ทั้งค่า Royalty และค่าการตลาดในธุรกิจแต่ละประเภท มักจะมีความแตกต่างกันไป การตั้งระดับที่เหมาะสมของค่า Royalty นี้จะขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของการบริการและการสนับสนุน รวมถึงการพัฒนาต่างๆ ซึ่งค่า Royalty จะต้องครอบคลุมค่าใช้จ่ายเหล่านี้ และเพิ่มเติมด้วยผลกำไรของแฟรนไชส์ซอร์ ยิ่งการบริการต่างๆ มีมากอัตราค่า Royalty จะยิ่งสูงขึ้น ในธุรกิจอาหารและร้านค้าปลีกต่างๆ อัตราเปอร์เซ็นต์ของค่า Royalty  บนยอดขายมักจะมีค่าประมาณ 4-6 % ขณะที่ธุรกิจประเภทการบริการมักอยู่ที่ 8-10 %

           ค่าใช้จ่ายข้างต้นเป็นสิ่งที่แตกต่างกับการทำธุรกิจทั่วไปเป็นค่าใช้จ่ายที่ จะช่วยลดความเสี่ยงของการล้มเหลวในธุรกิจและช่วยให้เถ้าแก่ใหม่เรียนลัดได้ เร็วขึ้นกว่าปกติ เหมือนกับการจ่ายค่าติวเข้มทางธุรกิจและจ้างพี่เลี้ยงช่วยเหลือ นอกจากนี้ยังมีค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในระบบธุรกิจแฟรนไชส์อีก เช่น การลงทุนตกแต่งร้าน เพื่อให้มีรูปลักษณ์เหมือนกับของแฟรนไชส์ซอร์ ซึ่งต้นทุนนี้จะเกิดขึ้นในระยะแรกของการตกลงใจที่จะทำแฟรนไชส์ ดังนั้นแฟรนไชส์ซี จำเป็นจะต้องมีเงินทุนที่เพียงพอสำหรับค่าใช้จ่ายล่วงหน้าส่วนนี้ พร้อมทั้งต้องแบ่งสรรเงินทุนส่วนหนึ่งให้เพียงพอกับการดำเนินงานธุรกิจตาม ปกติ เช่น ค่าใช้จ่ายทั่วไป เงินเดือนพนักงาน การสั่งซื้อสินค้าและบริการ เป็นต้น

ระบบแฟรนไชส์เริ่มที่เมืองไทยเมื่อใด

           ถ้าจะมองธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศไทยที่มีการริเริ่มมากกว่า 20 ปี เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.2526 ต้องยอมรับว่าระบบแฟรนไชส์ของคนไทยมีการเติบโตช้า ธุรกิจแรกๆ ที่พยายามผลักดันการขยายงานโดยใช้รูปแบบแฟรนไชส์ เป็นธุรกิจด้านอาหารและร้านค้าแบบมินิมาร์ท แต่ส่วนใหญ่จะมีปัญหาในเรื่องความเข้าใจที่ถูกต้องของทั้งแฟรนไชส์ซอร์ที่ เป็นเจ้าของสิทธิและแฟรนไชส์ซีที่เข้ามาซื้อสิทธิ ที่มักจะพบว่าแฟรนไชส์ซีทำตัวเป็นผู้ลงทุน ที่เน้นทำธุรกิจแบบซื้อเพื่อการลงทุน ไม่มีการมองถึงการสร้างธุรกิจของตนเอง บางครั้งยังใช้การบริหารแบบเก่าที่เน้นความเป็นระบบครอบครัวทำให้อัตราความ ล้มเหลวธุรกิจแฟรนไชส์ของไทยในภาพรวมเพิ่มขึ้น บางครั้งการลงทุนของแฟรนไชส์ซีที่ประสบปัญหาเกิดจากการจัดการของตนเองบ้าง หรือก็เกิดจากระบบงานของบริษัทแม่ที่เน้นการขยายธุรกิจที่มุ่งผลทางการตลาด นอกจากนั้นบางที่แฟรนไชส์ซอร์หลายคนขายแฟรนไขส์โดยไม่ได้มองหาคนที่ทำจริงๆ เป็นการขายและเข้าใจผิดคิดว่าธุรกิจตรงนั้นสามารถวางรูปแบบของธุรกิจที่จัด จ้างหรือหาคนทำได้ หรือบางครั้งหาแฟรนไชส์ซีที่ทำเองได้ แต่กลับยังล้มเหลวได้ก็เพราะบางทีเจ้าของที่ซื้อระบบแฟรนไชส์ไปมาทำงานเองก็ จริงแต่ตั้งเงินเดือนตัวเองสูงเกินกว่าที่ธุรกิจจะรับได้ ทำให้บริษัทมีภาระเกินความจำเป็น

แฟรนไชส์ที่ถูกต้องเป็นอย่างไร?

           ความเข้าใจในระบบแฟรนไชส์ที่ผิดอีกอย่างคือการสร้างแฟรนไชส์ที่มองเพียงแค่ เม็ดเงินที่เข้ามาหมุนเวียน ไม่ได้มองถึงฐานของระบบธุรกิจจริงๆ ขาดระบบการควบคุมการจัดการที่ดี ขาดแฟรนไชส์ซีที่มีความเข้าใจการดำเนินการในรูปแบบสาขา ซึ่งสาเหตุหลักก็มาจากการที่ไม่เข้าใจระบบแฟรนไชส์ในแนวที่ถูกต้อง ไม่ได้วิเคราะห์ความต้องการทางการตลาด ความเป็นไปได้ของการสรรหาทำเลของร้านสาขา หรือการศึกษาผู้บริโภคในแต่ละพื้นที่ แฟรนไชส์ซอร์เร่งกระจายขายแฟรนไชส์ โดยมองผลของการรับสิทธิค่าธรรมเนียม เป็นเหตุให้แฟรนไชส์ยากที่จะประสบผลสำเร็จและล้มเหลวต่อเนื่อง

           สิ่งที่ยังเข้าใจคลาดเคลื่อนอีกอย่างคือ การสร้างแฟรนไชส์ที่มุ่งเน้นการขายระบบงานแบบ ลดแลก แจกแถม บางครั้งเป็นระบบแบบ ไม่ต้องมีค่าแรกเข้า ไม่ต้องมีค่าธรรมเนียมอื่นๆ ซื้อแล้วได้เลย ผู้ที่เป็นเจ้าของแฟรนไชส์ คิดว่า จะคิดค่าใช้จ่ายรวมอยู่ในค่าวัตถุดิบแล้ว ลักษณะอีกอย่าง คิดว่าระบบแฟรนไชส์เป็นการให้ใช้ ป้ายที่มีสัญลักษณ์ของตัวเองเท่านั้น ไม่คิดจะบริหารสาขา หรือ ทำในลักษณะเป็น ตัวแทนจำหน่ายเสียมากกว่า ต้องบอกกันไว้ก่อนว่า การทำในลักษณะนั้นก็เหมือนกับสร้างธุรกิจ มาในอีกแบบที่ไม่ใช่ระบบแฟรนไชส์ ไม่มีการวางแผนในการดูแลมาตรฐานอื่นๆ หรือ การบริหารแบบอิสระมากกว่าจะเป็น ระบบสาขาในรูปแบบธุรกิจแฟรนไชส์

           การที่สร้างระบบงานแบบแฟรนไชส์นั้น สภาพการบริหารงานจะเป็นเสมือนหนึ่งเป็นการสร้างสาขาของบริษัทเอง ดังนั้นการบริหารจัดการจะต้องเหมือนเป็นร้านค้าของบริษัทด้วย เพียงแต่การลงทุนเป็นของแฟรนไชส์ซี เท่านั้น ดังนั้นการทำรูปแบบแฟรนไชส์ที่ต้องการดูแลที่ดีจึงต้องมีค่าใช้จ่ายและทีม งานที่เพียงพอรวมถึงผลกำไรของบริษัทแม่ในการดูแลธุรกิจทั้งหมด ถ้าจะต้องมีการทำงานดังกล่าวโดยไม่มีการเก็บค่าใช้จ่ายต่างๆก็มีความเป็นไป ได้น้อยมาก

ดังนั้นธุรกิจแฟรนไชส์จะต้องประกอบด้วยปัจจัยหลัก 3 ประการคือ

• มีผู้ซื้อและผู้ขายแฟรนไชส์  เป็นความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ฝ่าย  ก็คือแฟรนไชส์ซอร์ และแฟรนไชส์ซี ซึ่งมีการตกลงร่วมในการทำธุรกิจร่วมกันทั้งมีสัญญาและไม่มีสัญญา แต่ในอนาคตรูปแบบข้อตกลงจะปรับรูปสู่ระบบการสร้างสัญญาทั้งหมด เพื่อให้ทั้งระบบแฟรนไชส์ในตลาดจะต้องถูกระบบ เพราะไม่เช่นนั้นแฟรนไชส์ซอร์ที่ไม่ดีจะทำลายระบบด้วย

• เครื่องหมายการค้า หรือบริการ  มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีรูปแบบ ระบบธุรกิจ  และใช้เครื่องหมายการค้าเดียวกัน ระบบการจัดการธุรกิจอาจจะเป็นเครื่องมือ หรือสูตรที่คิดค้นขึ้นมาเอง ในการผลิตสินค้า หรือบริการ โดยมีมาตรฐานที่อยู่ในตราสินค้า Brand เดียวกัน

• มีการจ่ายค่าตอบแทนอย่างน้อย 2 อย่าง คือ ค่าแรกเข้าในการใช้เครื่องหมายการค้า (Franchise Fee) และค่าตอบแทนผลดำเนินการ (Royalty Fee)


            การทำระบบธุรกิจในรูปแบบแฟรนไชส์สามารถสร้างระบบการจัดจำหน่ายได้ยืนยาว ในรูปแบบธุรกิจจะสร้างองค์กรการบริหารงานซับซ้อนมากขึ้น ธุรกิจที่ดำเนินการเห็นชัดเจน

            ข้อเสียก็คือ การสร้างธุรกิจอย่างนี้ต้องมีการวางแผนอย่างเป็นระบบ ไม่ใช่เพียงเห็นเป็นแฟชั่น หรือ อยากทำมั่ง เท่านั้น เนื่องจากเกี่ยวข้องกับบุคคลหลายฝ่าย ดังนั้นจึงต้องมีการศึกษาแผนงาน และรูปแบบการทำงานให้ชัดเจนก่อนลงมือทำ ถ้าหากว่าทำได้อย่างนั้นแล้ว โอกาสที่จะประสบความสำเร็จในธุรกิจนี้ก็ไม่ใช่เรื่องยากแต่อย่างใด

ธุรกิจทำเงินสุดยอดแห่งปี

 

 เปิดรับสมัครแล้ว รับจำกัดเพียง 100 คนเท่านั้น!!

 ธุรกิจห้างสรรพสินค้าOnline

 คลิกที่นี่เพื่ออ่านรายละเอียด

  ธุรกิจร้านแฟชั่นเฟรนไชส์ 

 คลิกที่นี่เพื่ออ่านรายละเอียด

  ธุรกิจแฟรนไชส์ท่องเที่ยว 

 คลิกที่นี่เพื่ออ่านรายละเอียด

Click here to review the terms and conditions

Click here to see what we offer and how the business goes